วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

น.ส.สโรชา ล่ำสัน


 วิธีการการป้องกัน และการดำเนินการของประเทศไทย

จากการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ไปทั่วโลก นายกรัฐมนตรี ด้วยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 และตามคำแนะนำของผู้บริหารและ นักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และได้มี ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 มีผลบังคับในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และ ฉบับที่ 2 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป นั้น กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคติดเชื้อ โคโรนาไวรัส (COVID-19) เพื่อให้หน่วยงาน บุคคล และประชาชนทั่วไป ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการคุ้มครอง ป้องกัน สุขภาพของประชาชน ตลอดจนการจัดการสภาพแวดล้อมในสถานที่ต่างๆ (Setting) เพื่อควบคุมป้องกันโรค มิให้ แพร่กระจายไปสู่คนหมู่มาก และสถานการณ์การระบาดของโรคได้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนคำแนะนำ แนวทางการดำเนินงาน ให้สอดคล้องและทันเวลา จึงขอให้ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามข้อสั่งการ และมาตรการต่างๆบนทางเวบไซต์กระทรวง สาธารณสุข www.covid-19.moph.go.th เอกสารฉบับนี้ แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และส่วนที่ 4 มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่เกี่ยวข้องกับด้านการสาธารณสุขและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไวรัสอุบัติใหม่ที่พบว่ามีการระบาดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 โดยรายงานครั้งแรกที่มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน เชื้อไวรัส COVID-19 สามารถแพร่กระจาย จากคนสู่คนผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลายของคน ผู้ติดเชื้อจะมีอาการหลาย แบบตั้งแต่ติดเชื้อไม่มีอาการ อาการเล็กน้อยคล้ายเป็นไข้หวัดธรรมดา อาการปานกลางเป็นปอดอักเสบ และอาการ รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิต การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในหลายประเทศทั่วโลก องค์การ อนามัยโลกได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 และแนะนำทุกประเทศให้ เร่งรัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2563 มีรายงานผู้ป่วยใน 196 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือสำราญ เป็นผู้ป่วยที่ยืนยัน 597,458 ราย และเสียชีวิต 27,370 ราย สำหรับประเทศไทย ได้มีมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคตั้งแต่เริ่มพบการระบาดใน ประเทศจีน ตรวจพบผู้ป่วยรายแรกเป็นผู้เดินทางจากประเทศจีนในวันที่ 8 มกราคม 2653 ได้รับการตรวจยืนยัน ผลและแถลงสถานการณ์ในวันที่ 14 มกราคม 2563 ผู้ป่วยช่วงแรกเป็นผู้เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง การขยายพื้นที่ ระบาดในต่างประเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ติดเชื้อจากการเดินทางไปยังพื้นที่ระบาดอาจมีอาการ เล็กน้อยทำให้ไม่มีการตรวจหาการติดเชื้อ การพบผู้ป่วยกลุ่มถัดมาคือผู้ประกอบอาชีพสัมผัสกับนักท่องเที่ยว จากนั้นพบการติดเชื้อในกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยที่นิยมไปกินดื่ม การระบาดที่เป็นกลุ่มก้อนใหญ่คือการระบาดใน สนามมวยลุมพินี สนามมวยราชดำเนิน ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนต้องมีการประกาศให้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 และต่อมาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และวันที่ 26 มีนาคม 2563 ได้ประกาศข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) โดยได้ออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำแนะนำเพื่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวที่สอดคล้องกับมาตรการที่ระบุ ไว้ว่าให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดในเอกสารฉบับนี้

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

 เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2563 ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจ านวนมาก ประกอบกับเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC)) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยค าแนะน าของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดต่อของโรค ดังกล่าวที่มากับผู้เดินทางจากนอกราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรค ที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักร และเพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคดังกล่าวเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยค าแนะน าของคณะกรรมการด้านวิชาการ จึงเห็นสมควรประกาศก าหนดให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งหากสภาวการณ์ของโรคดังกล่าวสงบลงหรือมีเหตุอันสมควร จะได้มีการประกาศยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตรายต่อไป อาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยค าแนะน าของคณะกรรมการ ด้านวิชาการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักร ที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. ๒๕๖๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรดังต่อไปนี้ เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (๑) สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea) (๒) สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macao) และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong)


น.ส.รัชฏาพร เพ็งคุ้ม

 ข้อมูลการระบาดของโรค ที่มา ให้รู้จักโรคความเป็นมาของโรค Covid-19  ฯ

สถานการณ์ COVID-19 ยังคงขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงในบ้านเราเองด้วย ดังนั้นเพื่อความชัดเจนในข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เราอยากให้มาทำความรู้จักโรค COVID-19 ให้กระจ่าง พร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับความรุนแรงของโคโรนาไวรัส เชื้อนี้ทำลายปอดได้แค่ไหน มาเช็กเลย

COVID-19 คืออะไร
          โรค COVID-19 คือ โรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบการระบาดในช่วงปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเราจะรู้จักกันโรคนี้ในชื่อว่า ไวรัสอู่ฮั่น ก่อนที่ภายหลังจะระบุเชื้อก่อโรคได้ว่าเป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ตั้งชื่อโรคติดต่อชนิดนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า COVID-19  เพื่อไม่ให้เกิดรอยมลทินกับพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคด้วย

โคโรนาไวรัส เชื้อนี้มีมานานและหลายสายพันธุ์

          โคโรนาเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินระบบหายใจ มีมานานกว่า 60 ปี แล้ว และจัดเป็นเชื้อไวรัสตระกูลใหญ่ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยชื่อโคโรนาก็มีที่มาจากลักษณะของเชื้อไวรัสที่รูปร่างคล้ายมงกุฎ (Corona เป็นภาษาละตินที่แปลว่ามงกุฎ) เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้มีสารพันธุกรรมเป็น RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบไปด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ไขมันเป็นปุ่ม ๆ ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส อธิบายง่าย ๆ คือเป็นเชื้อไวรัสที่มีหนามอยู่รอบตัว จึงสามารถเกาะตัวอยู่ในอวัยวะที่เป็นเป้าหมายของเชื้อไวรัสได้

          โคโรนาไวรัสเป็นเชื้อที่ก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ เนื่องจากตัวไวรัสมีสารพันธุกรรม RNA ซึ่งมีโอกาสกลายพันธุ์สูง สามารถติดเชื้อข้ามสปีชีส์กันได้ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีการรวมตัวของสัตว์อย่างหนาแน่น เช่น ตลาดค้าสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นต้นตอการแพร่ระบาดของโรคก็อาจจะมาจากสัตว์ปีก เช่น นก ค้างคาว ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ม้า วัว แมว สุนัข กระต่าย หนู อูฐ รวมไปถึงสัตว์เลื้อยคลานอย่างงู เป็นต้น

          จริง ๆ แล้วเราเจอกับโคโรนาไวรัสกันอยู่เนือง ๆ เพราะอย่างที่บอกว่าโคโรนาไวรัสมีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ก่อให้เกิดโรครุนแรง เป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ก็มีโคโรนาไวรัสบางสายพันธุ์ที่ก่ออาการรุนแรงจนถึงขั้นปอดอักเสบได้ เช่น โรคซาร์ส ที่มีสาเหตุมาจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV ข้ามสปีชีส์จากค้างคาวมาสู่ตัวชะมด แล้วมาติดเชื้อในคน และโรคเมอร์ส ที่มีสาเหตุมาจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ MERS-CoV ข้ามสปีชีส์จากค้างคาวสู่อูฐ และมาติดเชื้อในคน และล่าสุดกับเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อโรค COVID-19 ซึ่งเป็นโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่แกะกล่อง

          โดยโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า SARS-CoV-2 เป็นเชื้อไวรัสลำดับที่ 7 ในตระกูล coronaviruses lineage B จีนัส betacoronavirus ที่ก่อให้เกิดโรคในคน


เชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ SARS-CoV-2 มีต้นตอมาจากไหน
จากการศึกษาทางพันธุกรรมของไวรัส และการเรียงลำดับของรหัสแต่ละตัวทำให้พบต้นตอของเชื้อ SARS-CoV-2 ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้มีจำนวนนิวคลีโอไทด์ที่เหมือนกันถึงร้อยละ 89.1 ของเชื้อ SARS-like coronaviruses ในค้างคาวที่เคยพบในประเทศจีน และในภายหลังก็มีข้อมูลที่ยืนยันว่า ต้นตอของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างโคโรนาไวรัสของค้างคาวกับโคโรนาไวรัสในงูเห่า กลายพันธุ์เป็นโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่แพร่เชื้อจากงูเห่ามายังคนได้
จริง ๆ แล้วเราสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงการติดเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค COVID 19 ได้ ดังนั้นอยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพและรักษาสุขอนามัยของตัวเองให้ดี จะได้ห่างไกลจากโรคนี้กันถ้วนหน้า

น.ส.รวิวรรณ บัวผัน

การอ่านข้อมูลสถิติการระบาดในปัจจุบัน และแนวโน้มการระบาด โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟ พร้อมแนบวิดิโอ หรือกราฟมา


หกเดือนผ่านไปหลังจาก WHO ประกาศการระบาดใหญ่ แม้สถานการณ์ในบางประเทศจะดีขึ้น และมาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในภาพรวมทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเกือบถึง 28 ล้านรายแล้ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 9 แสนราย (ข้อมูลวันที่ 10 ก.ย.)

หลายฝ่ายเชื่อว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงทั่วโลกจะมีมากกว่าตัวเลขข้างต้นที่รวบรวมโดย มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์

บีบีซีไทย รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 มาสรุปในรูปแบบอินโฟกราฟิก เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของวิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่มีใครคาดได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

สถานการณ์ในประเทศไทย

หลังจากไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อภายในประเทศนับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. ปรากฏว่าในวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในประเทศรายแรก หลังไม่มีรายงานการติดเชื้อนาน 100 วัน ผู้ติดเชื้อดังกล่าวเป็นผู้ต้องขังชายในคดียาเสพติด ที่พบการติดเชื้อระหว่างกักกันตัวผู้ต้องขังก่อนส่งตัวเข้าแดนในเรือนจำทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับมาตรการควบคุมโรคและตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาหลังจากที่จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเพื่อนบ้านมีเพิ่มมากขึ้น โดยกรมควบคุมโรค ระบุวิเคราะห์ว่าเป็นผลมาจากการระบาดเป็นวงกว้างในประเทศอินเดีย ซึ่งมีการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันมากที่สุดของโลก ส่งผลให้การแพร่ระบาดได้ลามเข้าสู่บังกลาเทศและเมียนมา และอาจจะลามมาถึงชายแดนไทยในปลายเดือน ก.ย. นี้

ส่วนในภาพรวมล่าสุด ณ วันที่ 6 ก.ย. มีผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 3,444 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 105 ราย รักษาหายแล้ว 3,281 ราย ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตยังคงที่ 58 ราย

อธิบดีกรมควบคุมโรคได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการระบาดระลอกที่ 2 ในประเทศไทยว่า มี 2 ลักษณะคือ 1.พบผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ซึ่งขณะนี้ได้พบแล้วในกรณีล่าสุด 2. การระบาด ขณะนี้ทางการกำลังสอบสวนโรค และพยายามควบคุมเพื่อตีกรอบการแพร่กระจายของเชื้อ

การผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ

ศบค. เริ่มผ่อนคลายมาตรการในระยะ 4 ตั้งแต่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา ด้วยการยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) และให้กิจกรรม/กิจการเกือบทุกประเภทกลับมาเปิดให้บริการภายใต้ข้อพึงระวังในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข

ในขณะที่ ศบค. ได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 5 แล้วเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะเปิดให้สถานบันเทิงประเภทผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด และโรงน้ำชากลับมาเปิดบริการได้ รวมทั้งผ่อนคลายการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของชาวต่างชาติบางส่วนแบบจำกัด แต่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ค.นี้

สำหรับมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 6 นั้น ครม.ได้อนุมัติในหลักการแล้วเพื่อให้กลุ่มชาวต่างชาติ 4 กลุ่มสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีความพร้อมหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ระบุว่า หลังจาก ครม.เห็นชอบในหลักการแล้ว สามารถทำได้ทันทีเมื่อพร้อม

ชาวต่างชาติ 4 กลุ่มประกอบด้วย